บ้านบ้าน วิภาวดี 20
บ้านบ้าน วิภาวดี 20

Blog ทำบ้านให้เป็นบ้าน

บ้าน 3 Gen.
เพราะครอบครัวไม่ได้มีแค่ พ่อ แม่ และลูก ครอบครัวยังมีสมาชิกคนสำคัญคนอื่นๆ อีก
ยิ่งครอบครัวไทยที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ แต่ไหนแต่ไรมา ทั้งคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย
บางบ้านยังมีคุณลุง ป้า น้า อา อีกด้วย ซึ่งบ้านที่จะอยู่รวมกันทุกเจนเนอร์เรชันนี้ได้ ต้องมีจุดร่วมเพื่อรวมความอบอุ่นได้อย่างไรบ้าง
ครั้งนี้จะมาดูบ้านตัวอย่างของการอยู่ร่วมกันของคน 3 Gen. ในบ้าน 1 หลัง
เพราะครอบครัวไม่ได้มีแค่ พ่อ แม่ และลูก ครอบครัวยังมีสมาชิกคนสำคัญคนอื่นๆ อีก ยิ่งครอบครัวไทยที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ แต่ไหนแต่ไรมา ทั้งคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย บางบ้านยังมีคุณลุง ป้า น้า อา อีกด้วย ซึ่งบ้านที่จะอยู่รวมกันทุกเจนเนอร์เรชันนี้ได้ ต้องมีจุดร่วมเพื่อรวมความอบอุ่นได้อย่างไรบ้าง ครั้งนี้จะมาดูบ้านตัวอย่างของการอยู่ร่วมกันของคน 3 Gen. ในบ้าน 1 หลัง
บ้านบ้าน วิภาวดี 20
บ้านของคุณป่อง - ปฐมา หรุ่นรักวิทย์ สถาปนิกแห่ง CASE Studio ในช่วงบ่ายวันอาทิตย์ที่กำลังมีการจัดงานเลี้ยงรวมญาติของครอบครัวใหญ่ ภาพของผู้ใหญ่มากหน้าหลายตานั่งล้อมวงคุยกันเคล้าเสียงหัวเราะ เด็กๆ วิ่งไล่จับกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งเป็นภาพที่เกิดขึ้นไม่ง่ายในเมืองใหญ่พื้นที่น้อยแบบกรุงเทพฯ
บ้านบ้าน วิภาวดี 20

บ้านเดี่ยว

“ก่อนจะย้ายมาอยู่ที่นี่ ครอบครัวเรามีบ้านเดี่ยวแต่แยกๆ กันอยู่ บ้านของแม่กับน้องสาว บ้านน้องชาย และก็บ้านพี่ อยู่ในบริเวณเดียวกันหมด จนเกิดวิกฤติในชีวิตที่แม่ป่วย หลานคนโตเสีย ทุกคนก็เฟลกันมาก พอมีหลานเล็กๆ เราก็จะไปอยู่รวมกันที่บ้านย่า ช่วยกันเลี้ยงหลาน จนรู้สึกได้ว่าบ้านของแต่ละคนเป็นพื้นที่สำหรับนอนอย่างเดียว แต่พื้นที่ที่ต้องใช้ร่วมกันดันไม่พอ ก็เลยดัดแปลงโรงรถเก่าให้ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้ให้เป็นพื้นที่ส่วนกลาง แต่ขนาดก็ยังไม่พออยู่ดี”
บ้านบ้าน วิภาวดี 20
บ้านบ้าน วิภาวดี 20

บ้านหลาย Gen.

ครอบครัวหรุ่นรักวิทย์ ประกอบด้วยสมาชิก 7 คน ตั้งแต่คุณย่า 85 ปี พร้อมหน้าลูกชายหญิง 3 คน ซึ่งลูกชายและลูกสะใภ้ก็มีลูกชายและลูกสาวคนเล็กอายุ 13 และ 9 ขวบ “ตอนอยู่ในโรงรถ ก็นั่งดูทีวีกินข้าวด้วยกันค่ะ แต่มันเล็ก หนูชอบห้องที่มันมีกระจก เวลานั่งจะได้ดูวิวไปด้วย” เสียงเจื้อยแจ้วจากสาวน้อยคนเล็กสุดของบ้านเล่าให้เราฟังถึงบ้านหลังที่อยู่ก่อนหน้า
บ้านบ้าน วิภาวดี 20

บ้านส่วนกลาง

จากการอยู่อาศัยในบ้านหลังเดิมทำให้คุณป่องได้เข้าใจระบบการใช้ชีวิตของครอบครัวตัวเอง ว่ามีลักษณะเหมือนครอบครัวขยายสมัยโบราณ คือพี่น้องทุกคนช่วยกันเลี้ยงเด็กในบ้าน แบ่งหน้าที่กันจัดการอาหารประจำวันในครอบครัว ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ได้ต้องการบ้านที่แยกออกเป็นหลังๆ ด้วยซ้ำ หากแต่ใช้ความสัมพันธ์ขอบครอบครัวในการเชื่อมโยงผ่านพื้นที่ส่วนกลางที่เป็นหัวใจสำคัญของบ้าน
บ้านบ้าน วิภาวดี 20
บ้านบ้าน วิภาวดี 20
บ้านบ้าน วิภาวดี 20

บ้านกิจกรรม

“ห้องส่วนกลางตรงนี้เป็นห้องรวมญาติ บ้านเราจะเรียก common room เป็นส่วนที่ทุกคนในบ้านต้องมารวมกันและอยู่ได้อย่างสบาย มีกิจกรรมอะไรก็จะมาทำร่วมกันที่นี่ แทนที่จะไปอยู่ในห้องที่ดัดแปลงจากโรงรถเหมือนแต่ก่อน และด้วยความที่บ้านพี่กินเลี้ยงกันบ่อย เดือนละครั้ง ถ้าเป็นญาติกลุ่มเล็กก็จะมารวมกันที่ห้องนี้ หรือกลางวันคุณย่าก็จะย้ายจากบ้านมานั่งตรงนี้ เหตุผลเพราะมองเห็นได้รอบบ้าน อย่างช่องเปิดตรงนี้ตอนแรกก็ไม่มีนะ แต่เปิดเพื่อคุณย่าได้มองเห็นในระดับสายตาที่มองเห็นพอดีตอนกำลังนั่ง”
บ้านบ้าน วิภาวดี 20
บ้านบ้าน วิภาวดี 20

บ้าน 4 ส่วน

ภายในพื้นที่บ้านแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ นั่นคือส่วนบ้านพักอาศัยสำหรับ 7 คน, ส่วนออฟฟิศสำหรับสามพี่น้อง, พื้นที่ส่วนกลางของครอบครัว และส่วนรับรองเพื่อนฝูง ซึ่งทั้งหมดถูกเชื่อมโยงด้วยห้องส่วนกลางห้องนี้ซึ่งเป็นทำหน้าที่เป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ คั่นกลางระหว่างส่วนบ้านที่เป็นส่วนตัวที่สุดกับออฟฟิศที่เป็นสาธารณะมากที่สุด
บ้านบ้าน วิภาวดี 20

บ้านแห่งอนาคต

ความพิเศษอีกอย่างของบ้านหลังนี้ คือการออกแบบด้วยแว่นตาที่มองไปถึงอนาคตที่วัยผู้ใหญ่กำลังก้าวเข้าสู่ชีวิตพวกเราทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ “เราไม่ได้คิดว่าเรามีผู้สูงอายุ 85 คนเดียว แต่เราคิดถึงว่าบ้านนี้เราคงอยู่ไปอีกนาน เพราะฉะนั้นอีก 10 ปีพี่ก็ 60 แล้ว อีก 20 ปีพี่ก็ 70 แล้ว ก็เป็นผู้สูงอายุเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราดีไซน์เผื่อไว้เลย นั่นก็คือทางลาดที่ซ่อนไว้หลังระแนง ทั้งทางเข้าส่วนออฟฟิศและทางเข้าส่วนบ้านซึ่งเชื่อมกันทั้งหมด”
บ้านบ้าน วิภาวดี 20

บ้านตอบโจทย์

“ห้องทั้งหลายในบ้านนี้โดยมากก็มักจะไม่ค่อยเปลี่ยนสเต็ป ถ้าในส่วนโซนบ้านเลยจะไม่เปลี่ยนสเต็ปเลยแม้กระทั่งห้องน้ำ เราใช้ส่วนเปียกส่วนแห้งโดยใช้วัสดุเป็นตัวเปลี่ยน ก็คือส่วนเปียกมีแค่ชาวเวอร์ นอกนั้นเป็นพื้นไม้หมดเลยในระดับเดียวกัน อย่างห้องแม่ไม่มีประตูห้องน้ำด้วยซ้ำ เปิดเข้าไปก็เป็นพื้นไม้ แล้วเราก็ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย อย่างแม่จะไม่ค่อยมีแรง พวกระบบสุขภัณฑ์หรือก๊อกน้ำเราใช้เป็นออโต้เมติกหทั้งหมด แค่ยื่นมือน้ำก็ไหลแล้ว ไม่ต้องบิด หรือในเรื่องการเตรียมการในเรื่องของระบบน้ำอุ่น ห้องแม่กับห้องเด็กจะไม่เป็นระบบน้ำร้อนที่ผสม จะใช้เป็นน้ำอุ่นธรรมดา เพราะว่าถ้าสมมติเป็นน้ำร้อน บางทีมันเกิดอุบัติเหตุลวกมือได้ แล้วมันคอนโทรลไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราจะใช้เป็นระบบน้ำอุ่นทั้งหมด”
บ้านบ้าน วิภาวดี 20

บ้านสุข 3 Gen.

สุดท้ายแล้ว ไลฟ์สไตล์ของสมาชิกในครอบครัวทุกคนเป็นตัวกำหนดงานดีไซน์และสถาปัตยกรรมได้ดีที่สุด และเป็นส่วนเติมเต็มสำคัญที่ทำให้พื้นที่ส่วนกลางซึ่งเป็นหัวใจหลักของบ้านมีสีสันด้วยบทสนทนาที่ไม่เคยทำให้ห้องนี้เงียบเหงา และดีไซน์ การออกแบบ รวมถึงฟังก์ชันการใช้งานในบ้าน ล้วนคิดโดยคำนึงถึงการอยู่อาศัยของคนทุกวัย ซึ่งหากใครจะคิดจะทำบ้านให้เป็นบ้านที่เหมาะกับคนทุกเจนเนอร์เรชันแล้ว ลองนำแนวคิดนี้ไปปรับใช้ดูได้เลย
ไม่พลาดทุกเรื่องบ้านจากเรา
ทำบ้านให้เป็นบ้าน